คำคนแปล จากหนังสือปีกปริศนา จิระนันท์ พิตรปรีชา(The Soul Bird by Michal Snunit)Credit: Dr. Matana Kettratadในภาษาส่วนใหญ่ของมนุษยชาติคำว่า "เหตุผล" กับ "อารมณ์" มักถูกจัดแยกเป็นขั้วตรงข้ามที่ไม่มีอะไรร่วมกันเลย... "อารมณ์"...[มัก]ถูกมองเป็นด้านที่ด้อยกว่า และอ่อนแอกว่า "เหตุผล"เสมอทั้งๆที่อารมณ์หลายอย่างเป็นเรื่องสร้างสรรค์และทำให้คนเรารู้จักสะเทือนใจ หัวเราะ ร้องไห้ ได้อย่างที่ควรจะเป็น...การกักกันตนเองในกรอบความคิดแบบนี้จนเคยชิน ทำให้เราเชื่อใน "เหตุผล" ของตนอย่างไร้เหตุผลเสียงเองจริงๆแล้ว นั้นก็เป็นเพียงอารมณ์หลุ่มหลงไปอีกแบบเท่านั้นกรอบความคิดนี้ทำให้เราไม่กล้ายอมรับว่าอารมณ์ไม่ใช่คู่แฝดจอมปวกเปียกขี้อิจฉาของเหตุผลผู้สูงส่งและแสนดีแต่ทั้งสองอยู่ในตัวเราพร้อมกัน และเป็นคนเดียวกันซึ่งจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากตัวเราเองถ้าเราไม่ยอมรับความจริง และไม่รู้จักจัดสมดุลให้สิ่งที่รวมอยู่ในตัวเราโดยเริ่มจากข้อเท็จจริงเราก็จะรู้สึก อึดอัด สับสน และบางครั้งก็รู้สึกผิดโดยไม่จำเป็นหลายต่อหลายครั้งที่เราต้องพูดออกมาว่า "ฉันเห็นด้วย ฉันเข้าใจ แต่ฉันทำไม่ได้"นั่นเป็นเพราะเรายังไม่ได้สะสางความคิดเกี่ยวกับตนเองให้กระจ่างแจ้งและคำว่า "เห็นด้วย" หรือ "เข้าใจ" ที่กล่าวออกไปราวกับรู้เหตุรู้ผล รู้ผิดชอบดีชั่ว ทุกประการก็มาจากภาวะอารมณ์ "เกรงใจ" อันคลุมเครือเท่านั้นแต่ถ้าตัดความเกรงใจหรือเกรงกลัวออกไปอย่างน้อยคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้วก็ยังมีสิทธิที่จะสะสางตัวเอง แล้วพูดเสียงดังว่า"ฉันไม่รู้ ไม่เข้าใจ ฉันจึงทำไม่ได้" หรือ "ฉันรู้ ฉันเข้าใจ ฉันจึงต้องทำ"ไม่ว่ามันจะหมายถึงการทำสิ่งที่ดีงามหรือสิ่งตรงกันข้ามในขณะที่เด็กๆต้องยอมรับการชี้นำและอำนาจของผู้ใหญ่โดยไม่อาจเรียกร้องหรือพิทักษ์สิทธิในการเข้าใจและตัดสินใจด้วยตนเอง....เมื่อเด็ก..โตขึ้น เราสอนพวกเขาให้ปรับอารมณ์ให้เข้ากับเหตุผลที่เรายึดถือกันอยู่และเริ่มใช้มาตรฐานแห่งความผิดชอบชั่วดีมาจำแนกตัดสินและลงโทษพวกเขาแต่น่าเสียดายที่กรอบความคิดเดิม ทำให้เรามองไม่ออกว่าการทำความเข้าใจกับกลไลการทำงานของจิตใจเบื้องลึกน่าจะเป็นเรื่องสำคัญก่อนอื่นถ้าหากเราใช้เหตุผลของเราไปกดข่มอารมณ์ของเด็กๆเพียงเพราะเราคิดว่าในเมื่ออย่างหนึ่งถูก อีกอย่างหนึ่งก็ต้องผิดและเด็กๆ "ต้องรู้ ต้องเข้าใจ ต้องทำ" ตามที่เราเห็นว่าถูกต้องสมควรทุกประการในที่สุดก็อาจกลายเป็นการทำร้าย หรือกระทั่งทำลายในนามของความรักและความหวังดี
...
--------------------------------------------------------
สรุปคือ
1. หลายๆครั้งเรานึกว่าเราเข้าใจแต่จริงๆเราไม่เข้าใจทั้งสถานการณ์และการทำงานของจิตใจเราเอง
เราเพียงแต่จำได้ว่า สังคมบอกเราว่า แบบนี้ควรหรือไม่ควร ถูกหรือผิด
2. ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ สิ่งที่ควรฝึกคือมองเข้ามาข้างในให้เข้าใจอารมณ์ตัวเองก่อน
(ก่อนที่จะด่วนกดอารมณ์นั้นไว้)
ให้จัดสมดุลอารมณ์กับเหตุผล โดยเฉพาะการมองให้เห็น ความกลัว ความเกรงในใจตัวเองก่อน
ก่อนที่จะจำเป็น pattern ว่าแบบนี้สังคมบอกว่าผิดหรือถูก
3. เมื่อมองเห็นจนเกิดปัญญาแล้วก็จะเข้าใจจริงๆ คราวนี้ก็จะไม่มีความขัดแย้งภายใน
เมื่อสะสางได้จริงจะมีปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ต่างๆแค่ 2 ทางคือ
"ฉันไม่รู้ ไม่เข้าใจ ฉันจึงทำไม่ได้" หรือ "ฉันรู้ ฉันเข้าใจ ฉันจึงต้องทำ"
ข้อ 3 นี้ น่าสนใจจริงๆ
"ฉันรู้ ฉันเข้าใจแต่ทำไม่ได้" เป็นคำพูดติดปากใครหลายคน....
หรือที่แท้เรายังไม่ได้เข้าใจอะไรเลย?
No comments:
Post a Comment