เคยได้อ่านจากในเน็ทเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมมากมาย
แต่เนื่องจากไม่ได้กลับบ้านเลยไม่ได้เจอกับตัวเอง
หลังจากน้ำขึ้นก็ไม่ได้กลับบ้านมาเป็นเวลาสองสัปดาห์ด้วยกัน
และด้วยระดับน้ำที่สูงมว้ากกกก ทำให้หวั่นเกรงว่าเราจะเข้าบ้านได้อย่างไรนิ
วันนี้จึงเดินทางกลับบ้านด้วยความว่างเปล่า ...
แต่เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง...ท่ามกลางลมหนาวที่กำลังเริ่มพัดเข้ามาในยามเช้า
และกระแสน้ำที่เยือกเย็น เรากลับรู้สึกถึงความอบอุ่นอย่างน่าประหลาด
เมื่อน้ำท่วมฉันกลับได้เห็น...ความเป็นคนไทย
ใครว่าพอเราก้าวสู่้ความเป็นเมืองมากขึ้น เราจะห่างเหินกันมากขึ้น
วันนี้ท่ามกลางผู้คนที่ไม่รู้จัก เราต่างเห็นใจซึ่งกันและกัน
เราพูดกันเหมือนคนที่รู้จักกันมานาน ขึ้นรถลงเรือกี่ครั้ง
เราเห็นความเอื้ออาทร และความเกื้อกูลตลอด ไม่ว่าจะเป็นช่วยถือของ
ช่วยฉุดขึ้นรถ ช่วยแบ่งที่นั่ง และต่างเล่่าประสบการณ์ให้กันฟัง
ดั่งเช่นครอบครัว
จะมีที่ไหนบ้างที่เราจะสามารถเห็นคนยืนท่ามกลางน้ำท่วมถึงอก
แต่เวลามีเรือผ่านไปก็ยังโบกมือให้กัน แถมตะโกนให้กำลังใจกันและกันตลอดเวลา
จะมีที่ไหนบ้างที่ถึงแม้บ้านน้ำจะท่วม แต่ก็ยังออกไปทำงานอาสาสมัครกันมากมาย
ไปที่ไหนๆก็คนมาทำงานอาสาสมัครเต็มไปหมด
ไม่รู้ว่าเรานิยามคำว่าคนไทยถูกหรือไม่
แต่ความรู้สึกในตอนนี้ และจากสิ่งที่เห็นในวันนี้
ทำให้เรามั่นใจว่า...ความเป็นคนไทยนั้นคือสิ่งนี้นี่เอง
แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกัน :)
Saturday, November 12, 2011
Friday, November 11, 2011
ช่องทางรับบริจาคเงินใหม่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในประเทศไทย (สำหรับชาวไทยในญี่ปุ่น)
ประกาศ เรื่อง ช่องทางรับบริจาคเงินใหม่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในประเทศไทย
ตามที่ทุกท่านได้ทราบกันถึงวิกฤตการณ์อุทกภัยในประเทศไทยและมีความประสงค์ที่จะบริจาคทรัพย์ผ่านทางช่องทางต่างๆ นั้น ทางเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ได้เปิดช่องทางในการบริจาคทรัพย์ขึ้น โดยบริจาคได้ที่สถานทูตฯ โดยตรงและผ่านทางบัญชีของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เบื้องต้น ทางสมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนทญ.) ได้ส่งจดหมายแจ้งไปที่ประธานเมืองทุกท่านทราบเพื่อให้ช่วยกระจายข่าวดังกล่าวและเป็นตัวแทนรวบรวมเงินบริจาคเหล่านั้นก่อนส่งต่อไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ ต่อไป
แต่เนื่องจากทาง สนทญ. ได้รับการรายงานว่า บางท่านต้องการช่วยเหลือเป็นจำนวนเงินไม่มาก อาจจะไม่คุ้มกับค่าธรรมเนียมการโอนผ่านสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือมีปัญหาว่าบางเมืองไม่มีประธานเมืองหรือสมาชิกไม่สะดวกที่จะโอนผ่านประธานเมืองและไม่สะดวกที่จะโอนโดยตรงไปที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เอง ทางสมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่นฯ จึงได้เปิดช่องทางพิเศษคือ
1. จัดทำกล่องรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยขึ้น ภายในงานประชุมวิชาการ 4th Thailand-Japan International Academic Conference (4th TJIA 2011) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ ณ The University of Tokyo, Japan โดยท่านสามารถที่จะฝากเงินผ่านทางประธานเมืองที่มาร่วมงานหรือบริจาคด้วยตัวท่านเองในกรณีที่มาร่วมงาน
2. ผ่านทางบัญชีธนาคาร ゆうちょ銀行 โดยตรง (ซึ่งจะไม่เสียค่าธรรมเนียมกรณีโอนผ่านบัญชีธนาคาร ゆうちょด้วยกันเอง) โดยทาง สนทญ. จะเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งมอบเงินเหล่านี้ผ่านไปยังสถานทูต สู่หน่วยงานอื่นตามความเหมาะสมต่อไป (เช่นสภากาชาดไทย) โดยท่านสามารถโอนเงินผ่านบัญชีดังต่อไปนี้
ชื่อบัญชี カオゴ-モン サシウィモン
記号10640 番号 37050721
店番 068 普通預金(口座番号)3705072
ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิก สนทญ. หรือผู้ที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นได้มีความสะดวกในการร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทุกภัยมากยิ่งขึ้น การเปิดช่องทางพิเศษนี้ ไม่ได้เป็นการบังคับสำหรับประธานเมืองหรือผู้ที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นว่าจะต้องโอนเงินผ่านทางบัญชีนี้เท่านั้น ประธานเมืองและสมาชิกสนทญ. ยังสามารถดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยและส่งมอบเงินเหล่านั้นได้ด้วยตนเองหากท่านมีความพร้อม แต่ช่องทางพิเศษนี้ตั้งขึ้นมาเพียงเพืื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ที่มีความประสงค์จะร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแต่ติดปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้นได้มีช่องทางการบริจาคที่มากขึ้น
การบริจาคเงินวิธีนี้ เบื้องต้น จะขอเปิดให้เฉพาะนักเรียนไทยหรือคนไทยผู้ที่พักอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเท่านั้นเพื่อป้องกันปัญหาข้อติติงเกี่ยวกับแหล่งที่มาที่ไปของเงิน แต่หากสมาชิกท่านใดประสงค์จะให้เพื่อนชาวต่างชาติร่วมบริจาคด้วยวิธีนี้ ขอความกรุณาทำความเข้าใจกับเพื่อนชาวต่างชาติถึงวัตถุประสงค์ของการบริจาคเงินด้วยช่องทางดังกล่าวด้วย
อนึ่ง เนื่องจากทางสมาคมไม่สามารถเปิดบัญชีในนามสมาคมบัญชีใหม่ได้เนื่องด้วยติดเรื่องข้อบังคับของธนาคาร จึงไม่สามารถบอกเบอร์บัญชีให้โอนมาได้แบบเป็นทางการ หากท่านใดไม่สะดวกหรือลำบากใจในการโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าวหรือฝากเงินมาที่กล่องบริจาคในวันงาน TJIA ทางสมาคมฯ ขอแนะนำให้ท่านบริจาคเงินผ่านช่องทางปกติของสถานเอกอัครราชทูตหรือช่องทางอื่นๆ ที่ได้มีการประกาศบน facebook ของสมาคมเช่นเดิม
จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
สมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนทญ.)
ตามที่ทุกท่านได้ทราบกันถึงวิกฤตการณ์อุทกภัยในประเทศไทยและมีความประสงค์ที่จะบริจาคทรัพย์ผ่านทางช่องทางต่างๆ นั้น ทางเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ได้เปิดช่องทางในการบริจาคทรัพย์ขึ้น โดยบริจาคได้ที่สถานทูตฯ โดยตรงและผ่านทางบัญชีของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เบื้องต้น ทางสมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนทญ.) ได้ส่งจดหมายแจ้งไปที่ประธานเมืองทุกท่านทราบเพื่อให้ช่วยกระจายข่าวดังกล่าวและเป็นตัวแทนรวบรวมเงินบริจาคเหล่านั้นก่อนส่งต่อไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ ต่อไป
แต่เนื่องจากทาง สนทญ. ได้รับการรายงานว่า บางท่านต้องการช่วยเหลือเป็นจำนวนเงินไม่มาก อาจจะไม่คุ้มกับค่าธรรมเนียมการโอนผ่านสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือมีปัญหาว่าบางเมืองไม่มีประธานเมืองหรือสมาชิกไม่สะดวกที่จะโอนผ่านประธานเมืองและไม่สะดวกที่จะโอนโดยตรงไปที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เอง ทางสมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่นฯ จึงได้เปิดช่องทางพิเศษคือ
1. จัดทำกล่องรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยขึ้น ภายในงานประชุมวิชาการ 4th Thailand-Japan International Academic Conference (4th TJIA 2011) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ ณ The University of Tokyo, Japan โดยท่านสามารถที่จะฝากเงินผ่านทางประธานเมืองที่มาร่วมงานหรือบริจาคด้วยตัวท่านเองในกรณีที่มาร่วมงาน
2. ผ่านทางบัญชีธนาคาร ゆうちょ銀行 โดยตรง (ซึ่งจะไม่เสียค่าธรรมเนียมกรณีโอนผ่านบัญชีธนาคาร ゆうちょด้วยกันเอง) โดยทาง สนทญ. จะเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งมอบเงินเหล่านี้ผ่านไปยังสถานทูต สู่หน่วยงานอื่นตามความเหมาะสมต่อไป (เช่นสภากาชาดไทย) โดยท่านสามารถโอนเงินผ่านบัญชีดังต่อไปนี้
ชื่อบัญชี カオゴ-モン サシウィモン
記号10640 番号 37050721
店番 068 普通預金(口座番号)3705072
ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิก สนทญ. หรือผู้ที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นได้มีความสะดวกในการร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทุกภัยมากยิ่งขึ้น การเปิดช่องทางพิเศษนี้ ไม่ได้เป็นการบังคับสำหรับประธานเมืองหรือผู้ที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นว่าจะต้องโอนเงินผ่านทางบัญชีนี้เท่านั้น ประธานเมืองและสมาชิกสนทญ. ยังสามารถดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยและส่งมอบเงินเหล่านั้นได้ด้วยตนเองหากท่านมีความพร้อม แต่ช่องทางพิเศษนี้ตั้งขึ้นมาเพียงเพืื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ที่มีความประสงค์จะร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยแต่ติดปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้นได้มีช่องทางการบริจาคที่มากขึ้น
การบริจาคเงินวิธีนี้ เบื้องต้น จะขอเปิดให้เฉพาะนักเรียนไทยหรือคนไทยผู้ที่พักอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเท่านั้นเพื่อป้องกันปัญหาข้อติติงเกี่ยวกับแหล่งที่มาที่ไปของเงิน แต่หากสมาชิกท่านใดประสงค์จะให้เพื่อนชาวต่างชาติร่วมบริจาคด้วยวิธีนี้ ขอความกรุณาทำความเข้าใจกับเพื่อนชาวต่างชาติถึงวัตถุประสงค์ของการบริจาคเงินด้วยช่องทางดังกล่าวด้วย
อนึ่ง เนื่องจากทางสมาคมไม่สามารถเปิดบัญชีในนามสมาคมบัญชีใหม่ได้เนื่องด้วยติดเรื่องข้อบังคับของธนาคาร จึงไม่สามารถบอกเบอร์บัญชีให้โอนมาได้แบบเป็นทางการ หากท่านใดไม่สะดวกหรือลำบากใจในการโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าวหรือฝากเงินมาที่กล่องบริจาคในวันงาน TJIA ทางสมาคมฯ ขอแนะนำให้ท่านบริจาคเงินผ่านช่องทางปกติของสถานเอกอัครราชทูตหรือช่องทางอื่นๆ ที่ได้มีการประกาศบน facebook ของสมาคมเช่นเดิม
จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
สมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนทญ.)
Monday, October 24, 2011
สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นในภาวะน้ำท่วม นอกจากน้ำ (จาก facebook คุณ "ผมอยู่ข้างหลังคุณ")
ที่มา: https://www.facebook.com/IbehindYou
*********************************
สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นในภาวะน้ำท่วม นอกจากน้ำ
1 เราอยากให้ทุกคนมีเสรีภาพและกล้าแสดงความเห็นทางการเมือง แต่ เมื่อมีคนมีชื่อเสียง แสดงความเห็นทางการเมืองตรงข้ามกับเราผ่านทางทวิตเตอร์หรือ fb ในระดับความรุนแรงที่ไม่ต่างจากเราบ่นกับเพื่อนเท่าไรนัก
ความเห็นของเขาก็จะถูกแคป ความเห็น เอามารุมยำรุมสกรัมผ่านหน้าจอ แล้วเราก็ไปร่วมยำอย่างมันส์มือ
2 เราเรียกร้องให้มีความเท่าเทียม ไม่ดูถูกเพื่อนมนุษย์ แต่ เราใช้คำศัพท์ เช่น ควาย , สลิ่ม ฯลฯ เรียกฝั่งตรงข้ามโดยไม่รู้สึกอะไร ไม่คิดว่าตัวเองเหยียดเขาอยู่ แต่พออีกฝ่ายเรียกเราด้วยศัพท์แบบนี้เราไม่พอใจทันที
3. คนใหญ่คนโตของทั้งสองฝั่งทางการเมือง พยายามบอกว่า น้ำท่วม ช่วยกันก่อน อย่าเล่นการเมือง แต่ เราจะเห็น การเมือง แฝงในคำพูดของเขาอย่างเนียนเสมอๆ
แล้วเรามักจะบ่นด่า นักการเมืองฝั่งตรงข้าม ที่ใช้้ การเมือง มาเล่นในภาวะน้ำท่วม แต่ เหมือนเรามองไม่เห็นว่า นักการเมืองฝั่งของเรา ที่ใช้ การเมือง มาเล่นในภาวะน้ำท่วม เช่นกัน
4. เราอยากให้คนไทยจับมือผ่านวิกฤติไปด้วยกัน เราอยากให้ช่วยกันหาทางแก้อย่างสร้างสรรค์ แต่ สิ่งที่เราทำคือ จับเอาเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่เกี่ยวกับปัญหาปัจจุบัน เอามาด่ามาเหน็บแนม มองข้ามความพยายาม หรือ เรื่องดีๆ ที่เขาพยายามทำอยู่
หรือ พยายามปกป้องฝั่งเดียวกัน เฉไฉไปพูดด้านดีๆ ทั้งๆที่เห็นชัดว่า มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นจริง ที่น่าจะช่วยกันปรับปรุง
หรือ ตัดคำพูดประโยคนั้น ประโยคนี้มาขยายความต่อให้เป็นเรื่องใหญ่ เพียงเพื่อให้เห็นว่า อีกฝ่ายไม่ดีอย่างไร
หรือ แก้ต่างให้ฝั่งเดียวกัน เช่น หาหลักฐานมายืนยันว่าฝั่งเราไม่ได้ทำอะไรผิด แล้วด่าฝ่ายตรงข้าม แต่ พอฝั่งเราผิดจริง เรากริบ ...
5. เมื่อน้ำมาจริง ในชุมชนที่อยู่รอดและฟื้นตัวเร็วที่สุด จะไม่ค่อยได้ยินคำว่า สลิ่ม , ควาย , ไพร่ , อำมาตย์ ฯลฯ แต่ทุกคนลงมาช่วยกัน
ในขณะที่ ชุมชนที่เรายังเห็นคำเหล่านั้นวนเวียน หากมิใช่ ชุมชนออนไลน์ ก็มักจะเป็น ชุมชนที่น้ำยังไม่วิกฤติ หรือเป็น ชุมชนที่วิกฤติมาแต่ยังนั่งอยู่หน้าจอ
6. ในภาวะวิกฤติ มักจะมีคนตำหนิ การมองโลกในแง่ดี ในเชิงโลกสวย ไม่ช่วยอะไร แต่ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย และคิดว่า คนที่มองเช่นนั้น ยังสับสนระหว่าง ‘มองโลกในแง่ดี’ กับ ‘หลอกตัวเอง’
เพราะการมองโลกในแง่ดี ไม่เคยทำให้ชีวิตเลวร้าย แต่ต้อง มองโลกในแง่จริง คือ เห็นทั้งในแง่ดี และ แง่ร้าย โดยไม่ปล่อยให้จมอยู่กับแง่ร้ายจนเกินไป และ ไม่หลอกตัวเอง
เช่น น้ำท่วมบ้าน มองในแง่ดี คือ เรายังเอาชีวิตรอดทัน เรายังดูแลคนที่เรารัก สัตว์ที่เราเลี้ยง และ ของสำคัญๆได้อยู่
แต่ หลอกตัวเอง คือ “ไม่เป็นไรหรอก อย่าเครียด แค่น้ำท่วมบ้าน”
ปัญหาของการมองโลกที่แท้จริง คือ มองโลกด้วยอคติท่วมท้น , มองโลกอย่างไร้เหตุผล , มองโลกโดยเอาตนเป็นบรรทัดฐานตัดสินคนอื่นๆ และ มองโลกโดยปล่อยให้อารมณ์พาไป
ในภาวะเช่นนี้ การมองโลกในแง่ดี จากสิ่งดีๆที่ยังมีและเหลืออยู่ คือ กำลังสำคัญของจิตใจในการสู้วิกฤติ
7. การมี social media กระตุ้นให้ จิตสำนึกดีๆ ส่งต่อได้ง่ายขึ้น กระตุ้นให้เราอยากช่วยเหลือ อยากทำอะไรดีๆ และ รับข่าวสารที่เร็วกว่าทางการ
แม้จะมีคนบ่นว่า บางคนออกไปช่วยเหลือเพียงเพื่ออยากจะถ่ายรูปมาโชว์ในหน้า FB แต่ ข้าพเจ้าคิดว่า ตราบใดที่พวกเขา ไม่ไปสร้างความเดือดร้อนเพิ่มเติม ต่อให้ทำเพื่ออยากอวดอยากโชว์ ในภาวะวิกฤติเช่นนี้ ก็ยังน่าชื่นชม
แต่ การเป็นคนดีของบางคน เผลอเข้าใจผิดคิดว่า ‘คนที่ไม่ทำดีเหมือนตนเอง คือ คนไม่ดี’ แล้วใช้ความเป็นคนดีของตัวเองกระทบกระเทียบคนอื่น
หรือเช่น กรณีห้างสรรพสินค้าที่ให้จอดรถฟรี แล้วเราชื่นชม แต่พอมีบางห้างไม่ให้จอดฟรี เราตำหนิว่าใจไม้ไส้ระกำ ทั้งๆที่เขาไม่ได้ทำผิดอะไร และ เขาเองก็มีภาระที่ต้องแบกรับ รวมถึงอาจช่วยสังคมในทางอื่นที่เราไม่รู้แล้วก็ได้
และ คนที่ทำหรือช่วยเหลือน้อยกว่า ไม่ได้แปลว่า เป็นคนที่ดีน้อยกว่า
หรือ บางคน , บางอาชีพ เช่น ตำรวจ ฯลฯ เราไม่เห็นเขาผ่านหน้าจอทางสื่อ ไม่ได้แปลว่า เขาไม่ได้ทำงานหนัก แต่ความช่วยเหลือของเขา อาจไม่ใช่งานที่เราได้เห็นผ่านทางโทรทัศน์
8. ข่าวสารส่วนใหญ่ในตอนนี้ โฟกัสไปที่ ‘กรุงเทพจะท่วมหรือไม่ท่วม’ แต่ ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนกับว่า สื่อหลักๆ ไม่ค่อยได้พูดถึง หลายจังหวัดที่ประชาชนอยู่ร่วมกับน้ำท่วมขังมาแล้วเป็นเดือนๆ
“จำเป็นต้องอพยพหรือไม่ ?” เป็นคำถามที่คนกรุงเทพหวาดหวั่น แต่ ถ้าสื่อนำเสนอให้เห็นว่า หลายจังหวัดที่ไม่ทันเตรียมตัวเหมือนคนกรุงเทพ เขาอยู่อย่างไร , เขาสู้วิกฤติมาอย่างไรเป็นเดือนๆ และ มีวิธีการช่วยเหลืออย่างไร
อาจทำให้ คนกรุงเทพ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และ ทำให้ คนต่างจังหวัดที่น้ำท่วมอยู่ รู้สึกว่า ยังมีคนให้ความสนใจ
9. เรามักด่าคนไทยในภาวะวิกฤติ แล้วยกญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างจากเหตุการณ์สึนามิที่ผ่านมา ทั้งที่ความจริงแล้ว ภาพคนเห็นแก่ตัว ความวุ่นวาย จราจล เป็นเรื่องธรรมดาของสังคมส่วนใหญ่ในภาวะวิกฤติรุนแรง เช่น แคธลีน่าในอเมริกา หรือ แผ่นดินไหวที่เฮติ ฯลฯ ญี่ปุ่นต่างหากที่ผิดปกติ
เพียงแต่เป็น ความผิดปกติ ที่ดีและน่าชื่นชม ซึ่งกว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ ประสบการณ์จะสอนให้ประชาชนและรัฐบาลค่อยๆเรียนรู้ และ เตรียมพร้อมในวิกฤติครั้งถัดไป
เราไม่สามารถสร้างวินัยหรือความใจเย็นมีสติ ในวันเดียว แต่ เราสามารถพัฒนาให้มันดีขึ้นเรื่อยๆได้ถ้าช่วยกัน
10. ไม่รู้ว่าเมืองนอกตอนวิกฤติยังมีอารมณ์ขันมากแค่ไหน แต่ คนไทยมีอารมณ์ขันได้เสมอ
ซึ่ง อารมณ์ขัน เป็นกลไกทางจิตที่ดีในการต้องผจญความทุกข์หรือวิกฤติ แต่นั่นหมายถึง อารมณ์ขันที่เหมาะสม
เพราะ บางอารมณ์ขันที่เล่นหนักในเชิงล้อเลียนดูุถูกคนทำงานในฝั่งการเมืองที่เราไม่ชอบ การส่งต่อๆกันไป นอกจากจะทำให้เพื่อนเราที่อยู่คนละฝั่ง หัวเราะไม่ออก ยังบั่นทอนกำลังใจของคนทำงานอีกต่างหาก
การเมืองที่ฝังรากลึก เป็นข้อดีที่ช่วยกระตุ้นให้เรารู้ทันสังคมและมีส่วนร่วมในการเมืองมากขึ้น แต่ หากเราปล่อยให้มันฝังในใจเรามากชนิดเอะอะอะไร ก็ โยงการเมืองเข้ามาจับตลอด ก็คงยากเหลือเกินที่จะผ่านพ้นวิกฤติไปได้อย่างราบรื่น ดูได้ง่ายๆจาก คนใหญ่คนโตที่ขัดแย้งกัน แล้วส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างเราๆที่นั่งรับข่าวสาร
การติเพื่อก่อ , การเตือนสติพวกเดียวกัน หรือ ด่าเพื่อระบายความอึดอัดใจ ย่อมดีกว่า การปกป้องพวกเดียวกัน ชนิดไม่ลืมหูลืมตา ว่าผิดพลาดไปมากขนาดไหน หรือ จ้องติเพื่อทำร้ายหรือทำลายฝั่งตรงข้าม หวังให้สิ้นชื่อไปกับน้ำท่วมในครั้งนี้
เป็นศัตรูจะฆ่ากันให้ตาย รอน้ำท่วมผ่านไปก็ยังไม่สาย แต่การจ้องจะเข่นฆ่าให้ตายในภาวะวิกฤติ อาจจะพาตัวเองกับคนรอบข้างที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ตายไปพร้อมๆกันทั้งหมด
****************
*********************************
สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นในภาวะน้ำท่วม นอกจากน้ำ
1 เราอยากให้ทุกคนมีเสรีภาพและกล้าแสดงความเห็นทางการเมือง แต่ เมื่อมีคนมีชื่อเสียง แสดงความเห็นทางการเมืองตรงข้ามกับเราผ่านทางทวิตเตอร์หรือ fb ในระดับความรุนแรงที่ไม่ต่างจากเราบ่นกับเพื่อนเท่าไรนัก
ความเห็นของเขาก็จะถูกแคป ความเห็น เอามารุมยำรุมสกรัมผ่านหน้าจอ แล้วเราก็ไปร่วมยำอย่างมันส์มือ
2 เราเรียกร้องให้มีความเท่าเทียม ไม่ดูถูกเพื่อนมนุษย์ แต่ เราใช้คำศัพท์ เช่น ควาย , สลิ่ม ฯลฯ เรียกฝั่งตรงข้ามโดยไม่รู้สึกอะไร ไม่คิดว่าตัวเองเหยียดเขาอยู่ แต่พออีกฝ่ายเรียกเราด้วยศัพท์แบบนี้เราไม่พอใจทันที
3. คนใหญ่คนโตของทั้งสองฝั่งทางการเมือง พยายามบอกว่า น้ำท่วม ช่วยกันก่อน อย่าเล่นการเมือง แต่ เราจะเห็น การเมือง แฝงในคำพูดของเขาอย่างเนียนเสมอๆ
แล้วเรามักจะบ่นด่า นักการเมืองฝั่งตรงข้าม ที่ใช้้ การเมือง มาเล่นในภาวะน้ำท่วม แต่ เหมือนเรามองไม่เห็นว่า นักการเมืองฝั่งของเรา ที่ใช้ การเมือง มาเล่นในภาวะน้ำท่วม เช่นกัน
4. เราอยากให้คนไทยจับมือผ่านวิกฤติไปด้วยกัน เราอยากให้ช่วยกันหาทางแก้อย่างสร้างสรรค์ แต่ สิ่งที่เราทำคือ จับเอาเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่เกี่ยวกับปัญหาปัจจุบัน เอามาด่ามาเหน็บแนม มองข้ามความพยายาม หรือ เรื่องดีๆ ที่เขาพยายามทำอยู่
หรือ พยายามปกป้องฝั่งเดียวกัน เฉไฉไปพูดด้านดีๆ ทั้งๆที่เห็นชัดว่า มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นจริง ที่น่าจะช่วยกันปรับปรุง
หรือ ตัดคำพูดประโยคนั้น ประโยคนี้มาขยายความต่อให้เป็นเรื่องใหญ่ เพียงเพื่อให้เห็นว่า อีกฝ่ายไม่ดีอย่างไร
หรือ แก้ต่างให้ฝั่งเดียวกัน เช่น หาหลักฐานมายืนยันว่าฝั่งเราไม่ได้ทำอะไรผิด แล้วด่าฝ่ายตรงข้าม แต่ พอฝั่งเราผิดจริง เรากริบ ...
5. เมื่อน้ำมาจริง ในชุมชนที่อยู่รอดและฟื้นตัวเร็วที่สุด จะไม่ค่อยได้ยินคำว่า สลิ่ม , ควาย , ไพร่ , อำมาตย์ ฯลฯ แต่ทุกคนลงมาช่วยกัน
ในขณะที่ ชุมชนที่เรายังเห็นคำเหล่านั้นวนเวียน หากมิใช่ ชุมชนออนไลน์ ก็มักจะเป็น ชุมชนที่น้ำยังไม่วิกฤติ หรือเป็น ชุมชนที่วิกฤติมาแต่ยังนั่งอยู่หน้าจอ
6. ในภาวะวิกฤติ มักจะมีคนตำหนิ การมองโลกในแง่ดี ในเชิงโลกสวย ไม่ช่วยอะไร แต่ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย และคิดว่า คนที่มองเช่นนั้น ยังสับสนระหว่าง ‘มองโลกในแง่ดี’ กับ ‘หลอกตัวเอง’
เพราะการมองโลกในแง่ดี ไม่เคยทำให้ชีวิตเลวร้าย แต่ต้อง มองโลกในแง่จริง คือ เห็นทั้งในแง่ดี และ แง่ร้าย โดยไม่ปล่อยให้จมอยู่กับแง่ร้ายจนเกินไป และ ไม่หลอกตัวเอง
เช่น น้ำท่วมบ้าน มองในแง่ดี คือ เรายังเอาชีวิตรอดทัน เรายังดูแลคนที่เรารัก สัตว์ที่เราเลี้ยง และ ของสำคัญๆได้อยู่
แต่ หลอกตัวเอง คือ “ไม่เป็นไรหรอก อย่าเครียด แค่น้ำท่วมบ้าน”
ปัญหาของการมองโลกที่แท้จริง คือ มองโลกด้วยอคติท่วมท้น , มองโลกอย่างไร้เหตุผล , มองโลกโดยเอาตนเป็นบรรทัดฐานตัดสินคนอื่นๆ และ มองโลกโดยปล่อยให้อารมณ์พาไป
ในภาวะเช่นนี้ การมองโลกในแง่ดี จากสิ่งดีๆที่ยังมีและเหลืออยู่ คือ กำลังสำคัญของจิตใจในการสู้วิกฤติ
7. การมี social media กระตุ้นให้ จิตสำนึกดีๆ ส่งต่อได้ง่ายขึ้น กระตุ้นให้เราอยากช่วยเหลือ อยากทำอะไรดีๆ และ รับข่าวสารที่เร็วกว่าทางการ
แม้จะมีคนบ่นว่า บางคนออกไปช่วยเหลือเพียงเพื่ออยากจะถ่ายรูปมาโชว์ในหน้า FB แต่ ข้าพเจ้าคิดว่า ตราบใดที่พวกเขา ไม่ไปสร้างความเดือดร้อนเพิ่มเติม ต่อให้ทำเพื่ออยากอวดอยากโชว์ ในภาวะวิกฤติเช่นนี้ ก็ยังน่าชื่นชม
แต่ การเป็นคนดีของบางคน เผลอเข้าใจผิดคิดว่า ‘คนที่ไม่ทำดีเหมือนตนเอง คือ คนไม่ดี’ แล้วใช้ความเป็นคนดีของตัวเองกระทบกระเทียบคนอื่น
หรือเช่น กรณีห้างสรรพสินค้าที่ให้จอดรถฟรี แล้วเราชื่นชม แต่พอมีบางห้างไม่ให้จอดฟรี เราตำหนิว่าใจไม้ไส้ระกำ ทั้งๆที่เขาไม่ได้ทำผิดอะไร และ เขาเองก็มีภาระที่ต้องแบกรับ รวมถึงอาจช่วยสังคมในทางอื่นที่เราไม่รู้แล้วก็ได้
และ คนที่ทำหรือช่วยเหลือน้อยกว่า ไม่ได้แปลว่า เป็นคนที่ดีน้อยกว่า
หรือ บางคน , บางอาชีพ เช่น ตำรวจ ฯลฯ เราไม่เห็นเขาผ่านหน้าจอทางสื่อ ไม่ได้แปลว่า เขาไม่ได้ทำงานหนัก แต่ความช่วยเหลือของเขา อาจไม่ใช่งานที่เราได้เห็นผ่านทางโทรทัศน์
8. ข่าวสารส่วนใหญ่ในตอนนี้ โฟกัสไปที่ ‘กรุงเทพจะท่วมหรือไม่ท่วม’ แต่ ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนกับว่า สื่อหลักๆ ไม่ค่อยได้พูดถึง หลายจังหวัดที่ประชาชนอยู่ร่วมกับน้ำท่วมขังมาแล้วเป็นเดือนๆ
“จำเป็นต้องอพยพหรือไม่ ?” เป็นคำถามที่คนกรุงเทพหวาดหวั่น แต่ ถ้าสื่อนำเสนอให้เห็นว่า หลายจังหวัดที่ไม่ทันเตรียมตัวเหมือนคนกรุงเทพ เขาอยู่อย่างไร , เขาสู้วิกฤติมาอย่างไรเป็นเดือนๆ และ มีวิธีการช่วยเหลืออย่างไร
อาจทำให้ คนกรุงเทพ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และ ทำให้ คนต่างจังหวัดที่น้ำท่วมอยู่ รู้สึกว่า ยังมีคนให้ความสนใจ
9. เรามักด่าคนไทยในภาวะวิกฤติ แล้วยกญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างจากเหตุการณ์สึนามิที่ผ่านมา ทั้งที่ความจริงแล้ว ภาพคนเห็นแก่ตัว ความวุ่นวาย จราจล เป็นเรื่องธรรมดาของสังคมส่วนใหญ่ในภาวะวิกฤติรุนแรง เช่น แคธลีน่าในอเมริกา หรือ แผ่นดินไหวที่เฮติ ฯลฯ ญี่ปุ่นต่างหากที่ผิดปกติ
เพียงแต่เป็น ความผิดปกติ ที่ดีและน่าชื่นชม ซึ่งกว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ ประสบการณ์จะสอนให้ประชาชนและรัฐบาลค่อยๆเรียนรู้ และ เตรียมพร้อมในวิกฤติครั้งถัดไป
เราไม่สามารถสร้างวินัยหรือความใจเย็นมีสติ ในวันเดียว แต่ เราสามารถพัฒนาให้มันดีขึ้นเรื่อยๆได้ถ้าช่วยกัน
10. ไม่รู้ว่าเมืองนอกตอนวิกฤติยังมีอารมณ์ขันมากแค่ไหน แต่ คนไทยมีอารมณ์ขันได้เสมอ
ซึ่ง อารมณ์ขัน เป็นกลไกทางจิตที่ดีในการต้องผจญความทุกข์หรือวิกฤติ แต่นั่นหมายถึง อารมณ์ขันที่เหมาะสม
เพราะ บางอารมณ์ขันที่เล่นหนักในเชิงล้อเลียนดูุถูกคนทำงานในฝั่งการเมืองที่เราไม่ชอบ การส่งต่อๆกันไป นอกจากจะทำให้เพื่อนเราที่อยู่คนละฝั่ง หัวเราะไม่ออก ยังบั่นทอนกำลังใจของคนทำงานอีกต่างหาก
การเมืองที่ฝังรากลึก เป็นข้อดีที่ช่วยกระตุ้นให้เรารู้ทันสังคมและมีส่วนร่วมในการเมืองมากขึ้น แต่ หากเราปล่อยให้มันฝังในใจเรามากชนิดเอะอะอะไร ก็ โยงการเมืองเข้ามาจับตลอด ก็คงยากเหลือเกินที่จะผ่านพ้นวิกฤติไปได้อย่างราบรื่น ดูได้ง่ายๆจาก คนใหญ่คนโตที่ขัดแย้งกัน แล้วส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างเราๆที่นั่งรับข่าวสาร
การติเพื่อก่อ , การเตือนสติพวกเดียวกัน หรือ ด่าเพื่อระบายความอึดอัดใจ ย่อมดีกว่า การปกป้องพวกเดียวกัน ชนิดไม่ลืมหูลืมตา ว่าผิดพลาดไปมากขนาดไหน หรือ จ้องติเพื่อทำร้ายหรือทำลายฝั่งตรงข้าม หวังให้สิ้นชื่อไปกับน้ำท่วมในครั้งนี้
เป็นศัตรูจะฆ่ากันให้ตาย รอน้ำท่วมผ่านไปก็ยังไม่สาย แต่การจ้องจะเข่นฆ่าให้ตายในภาวะวิกฤติ อาจจะพาตัวเองกับคนรอบข้างที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ตายไปพร้อมๆกันทั้งหมด
****************
Saturday, August 27, 2011
มารยาทในการเสิร์ฟอาหารแบบญี่ปุ๊นนนน..ญี่ปุ่น
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้บริหารใหญ่มากกกก จากญี่ปุ่นมาที่เมืองไทย
จึงได้เรียนรู้วัฒนธรรมการเสิร์ฟอาหารแบบญี่ปุ่นมา...
เอาภาพมาฝาก ไว้เป็นควารรู้ เผื่อใครอยากไปทำงานพิเศษร้านอาหารญี่ปุ่น 5555
ปล. เวลาเสิร์ฟให้ใช้สองมือ ห้ามมือเดียวนะจ๊ะเด็กๆ
จึงได้เรียนรู้วัฒนธรรมการเสิร์ฟอาหารแบบญี่ปุ่นมา...
เอาภาพมาฝาก ไว้เป็นควารรู้ เผื่อใครอยากไปทำงานพิเศษร้านอาหารญี่ปุ่น 5555
ปล. เวลาเสิร์ฟให้ใช้สองมือ ห้ามมือเดียวนะจ๊ะเด็กๆ
Wednesday, August 17, 2011
ร่วมส่งภาพผลิตภัณฑ์เก่าชิงเงินรางวัลรวมกว่า150,000 บาท
ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาได้ไปไหน ไม่ค่อยได้ทำอะไรนอกจากทำงานเลยไม่มีเรื่องจะมาเล่าเท่าไหร่ค่ะ..
เอางานที่ทำอยู่มาโปรโมทละกัน ... อยากจะเช่้นบล็อคใจจะขาด แต่ไม่มีอะไรจะเล่าให้ฟังเลย T^T
ยังมีคนตามอ่านอยู่ไหมเนี่ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย~ (โหยหวน)
เอาเป็นว่ามาเข้าร่้วมกิจกรรมของโบว์กันละกันค่ะ 555
รายละเอียดงานคลิกเ้ลยค่ะ :)
http://www.panasonic.co.th/wps/portal/home/eventspromotions/events/eventsdetails/?WCM_GLOBAL_CONTEXT=/ggweb-th/ggweb/home/eventspromotions/events/oldiesboi
เอางานที่ทำอยู่มาโปรโมทละกัน ... อยากจะเช่้นบล็อคใจจะขาด แต่ไม่มีอะไรจะเล่าให้ฟังเลย T^T
ยังมีคนตามอ่านอยู่ไหมเนี่ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย~ (โหยหวน)
เอาเป็นว่ามาเข้าร่้วมกิจกรรมของโบว์กันละกันค่ะ 555
รายละเอียดงานคลิกเ้ลยค่ะ :)
http://www.panasonic.co.th/wps/portal/home/eventspromotions/events/eventsdetails/?WCM_GLOBAL_CONTEXT=/ggweb-th/ggweb/home/eventspromotions/events/oldiesboi
Sunday, May 15, 2011
แกงค์ call center มามุขใหม่
วันก่อนมีแกงค์ call center รูปแบบใหม่โทรมา ตอนนี้ไม่อ้างธนาคารแล้ว มาแนวยิ่งใหญ่เลย 55555
โจร: ศูนย์กลางธนาคารแห่งประเทศไทยสวัสดีค่ะ ขณะนี้บัญชีของคุณถูกระงับ กด 0 เพื่อฟังอีกครั้ง กด 1 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที
โบว์: (กด 0 เพราะตอนแรกฟังไม่ทันว่าพูดอะไร โอนสายให้คุยกะโอเปอเรเตอร์เฉยเลย -"-)
โจร: ศูนย์กลางธนาคารแห่งประเทศไทยยินดีให้บริการค่ะ
โบว์: (เสียงแอ๊บสุดฤทธิ์) เอ่อ เมื่อสักครู่มีโทรศัพท์แจ้งว่าบัญชีถูกระงับน่ะค่ะ
โจร: เดี๋ยวดิฉันจะตรวจสอบให้นะคะ ขอบทราบชื่อด้วยค่ะ
โบว์: ขอประทานโทษนะคะ นี่คุณโทรมาไม่ทราบเหรอคะว่าดิฉันชื่ออะไร
โจร: ตู๊ดดตู๊ดดดดดดดด
แหม..ดันโทรมาตอนประชุมพอดี ไม่งั้นน่าจะแอ๊บต่อบอกชื่อปลอมไป จะได้รู้ว่าจะมาแนวไหนต่อ เสียดาย 55555
ว่าแต่ตั้งชื่อองค์กรซะเว่อร์เชียวน้าาาาาาา ศูนย์กลางธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วมันยังมีคนเชื่ออยู่อีกเหรอเนี่ย -"-
โจร: ศูนย์กลางธนาคารแห่งประเทศไทยสวัสดีค่ะ ขณะนี้บัญชีของคุณถูกระงับ กด 0 เพื่อฟังอีกครั้ง กด 1 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที
โบว์: (กด 0 เพราะตอนแรกฟังไม่ทันว่าพูดอะไร โอนสายให้คุยกะโอเปอเรเตอร์เฉยเลย -"-)
โจร: ศูนย์กลางธนาคารแห่งประเทศไทยยินดีให้บริการค่ะ
โบว์: (เสียงแอ๊บสุดฤทธิ์) เอ่อ เมื่อสักครู่มีโทรศัพท์แจ้งว่าบัญชีถูกระงับน่ะค่ะ
โจร: เดี๋ยวดิฉันจะตรวจสอบให้นะคะ ขอบทราบชื่อด้วยค่ะ
โบว์: ขอประทานโทษนะคะ นี่คุณโทรมาไม่ทราบเหรอคะว่าดิฉันชื่ออะไร
โจร: ตู๊ดดตู๊ดดดดดดดด
แหม..ดันโทรมาตอนประชุมพอดี ไม่งั้นน่าจะแอ๊บต่อบอกชื่อปลอมไป จะได้รู้ว่าจะมาแนวไหนต่อ เสียดาย 55555
ว่าแต่ตั้งชื่อองค์กรซะเว่อร์เชียวน้าาาาาาา ศูนย์กลางธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วมันยังมีคนเชื่ออยู่อีกเหรอเนี่ย -"-
Thursday, March 24, 2011
Hands for Japan รวมน้ำใจนักเรียนไทย ช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวญี่ปุ่น
ทางสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)ชุมนุมนักเรียนทุนรัฐบาลญีปุ่น และกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม “Hands for Japan รวมน้ำใจนักเรียนไทย ช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวญี่ปุ่น” ในวันที่ 26 มีนาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 13:00- 19:00 น. ณ ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
http://www.facebook.com/event.php?eid=206808742663419
Tuesday, March 15, 2011
การบริจาคสมทบทุนโครงการ “นักเรียนเก่าญี่ปุ่นช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ”
14 มีนาคม 2554
เรื่อง การบริจาคสมทบทุนโครงการ “นักเรียนเก่าญี่ปุ่นช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ”
เรียน สมาชิกสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ และท่านผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน
เนื่องจากโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหว ที่ประเทศญี่ปุ่น ความรุนแรง 9.0 ริกเตอร์ ซึ่งเป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุด และได้ก่อให้เกิดสึนามิ นำความเสียหายต่อเพื่อนชาวญี่ปุ่น ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกของประเทศ จนถึงกรุงโตเกียว ทำให้มีผู้เสียชีวิต ผู้สูญหาย และ บ้านเรือนของประชาชนเสียหายอย่างหนัก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวนหนึ่งเกิดการระเบิดขึ้นถือเป็นเหตุการณ์ครั้ง รุนแรงมากที่สุดในรอบหลายร้อยปีของประเทศญี่ปุ่น สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพวกเราสมาชิก ส.น.ญ. ร่วมกับสมาคม และองค์กรอื่น ได้ตกลงที่จะประสานความร่วมมือ ระดมความช่วยเหลือต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้ประสบภัยในญี่ปุ่นโดยเร็วที่สุด จึงขอเชิญชวนศิษย์เก่า สมาชิก ส.น.ญ.ทุกท่านที่ประสงค์จะบริจาคเงิน เพื่อร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวญี่ปุ่นในครั้งนี้ โดยสามารถบริจาคเงิน ได้ที่:
บัญชีอออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาพหลโยธิน บัญชีเลขที่ 014-269-4579
ชื่อบัญชี “นักเรียนเก่าญี่ปุ่นช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ”
และแฟ็กซ์ใบ PAY-IN มาที่แฟกซ์ 02-357-1246 (หรืออีเมล์ helpcenter@ojsat.or.th พร้อม SCAN ใบ PAY-IN ) พร้อมเขียนชื่อนามสกุล ที่อยู่ และเบอร์โทร.ที่ติดต่อได้ เพื่อทางสมาคมฯจะจัดทำบัญชีรายนามผู้บริจาคต่อไป สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-357-1241/-5
สมาคมฯ ขอขอบพระคุณศิษย์เก่า สมาชิกสนญ.ทุกท่าน แทนชาวญี่ปุ่น มา ณ ที่นี้ด้วย
ขอแสดงความนับถือ
นายเลิศ มหาสุวีระชัย
นายกสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์
**************************************
ที่มา http://helpcenter.ojsat.or.th/
เรื่อง การบริจาคสมทบทุนโครงการ “นักเรียนเก่าญี่ปุ่นช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ”
เรียน สมาชิกสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นในพระบรมราชูปถัมภ์ และท่านผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน
เนื่องจากโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหว ที่ประเทศญี่ปุ่น ความรุนแรง 9.0 ริกเตอร์ ซึ่งเป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุด และได้ก่อให้เกิดสึนามิ นำความเสียหายต่อเพื่อนชาวญี่ปุ่น ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกของประเทศ จนถึงกรุงโตเกียว ทำให้มีผู้เสียชีวิต ผู้สูญหาย และ บ้านเรือนของประชาชนเสียหายอย่างหนัก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวนหนึ่งเกิดการระเบิดขึ้นถือเป็นเหตุการณ์ครั้ง รุนแรงมากที่สุดในรอบหลายร้อยปีของประเทศญี่ปุ่น สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์ และพวกเราสมาชิก ส.น.ญ. ร่วมกับสมาคม และองค์กรอื่น ได้ตกลงที่จะประสานความร่วมมือ ระดมความช่วยเหลือต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้ประสบภัยในญี่ปุ่นโดยเร็วที่สุด จึงขอเชิญชวนศิษย์เก่า สมาชิก ส.น.ญ.ทุกท่านที่ประสงค์จะบริจาคเงิน เพื่อร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวญี่ปุ่นในครั้งนี้ โดยสามารถบริจาคเงิน ได้ที่:
บัญชีอออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาพหลโยธิน บัญชีเลขที่ 014-269-4579
ชื่อบัญชี “นักเรียนเก่าญี่ปุ่นช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ”
และแฟ็กซ์ใบ PAY-IN มาที่แฟกซ์ 02-357-1246 (หรืออีเมล์ helpcenter@ojsat.or.th พร้อม SCAN ใบ PAY-IN ) พร้อมเขียนชื่อนามสกุล ที่อยู่ และเบอร์โทร.ที่ติดต่อได้ เพื่อทางสมาคมฯจะจัดทำบัญชีรายนามผู้บริจาคต่อไป สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-357-1241/-5
สมาคมฯ ขอขอบพระคุณศิษย์เก่า สมาชิกสนญ.ทุกท่าน แทนชาวญี่ปุ่น มา ณ ที่นี้ด้วย
ขอแสดงความนับถือ
นายเลิศ มหาสุวีระชัย
นายกสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์
**************************************
ที่มา http://helpcenter.ojsat.or.th/
Saturday, March 12, 2011
ประสบการณ์ตรงจากพี่ชายคนหนึ่งเมื่อประสบเหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น
นำมาจากบล็อคของพี่ชายคนหนึ่งที่ทำงานที่ญี่ปุ่นค่ะ อยากให้ทุกคนได้อ่านกัน
ขอให้เพื่อนๆทุกคนปลอดภัยนะคะ เป็นห่วงทุกคนมากค่ะ
**********************************
วันศุกร์ที่ 11 มี.ค. 2554 เป็นวันหนึ่งที่ผมจะจดจำไปตลอดชีวิต เพราะเป็นวันที่ญี่ปุ่นประสบหายนะแผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติ ศาสตร์ โดยศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเซ็นได จังหวัดมิยากิ (หนึ่งในเมืองที่นักท่องเที่ยวไทยชอบไปเที่ยว) อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ซึ่งวัดความสั่นสะเทือนได้ถึง 8.9 ริกเตอร์ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่คนญี่ปุ่นยังไม่เคยพบเจอมาก่อน
เหตุการณ์ ได้เกิดขึ้นเมื่อเวลาบ่าย 2.48 นาที ผมกำลังนั่งทำงานอยู่ จู่ๆเหมือนกับรู้สึกว่าที่ทำงานได้เคลื่อนไหว ผมได้จ้องมองนาฬิกา พบว่านาฬิกาได้แกว่งไปแกว่งมา โดยปกติแล้วเมื่ออยู่นานๆที่นี่จะเริ่มชินกับแผ่นดินไหวจะไม่ลุกไปไหน จนกระทั่งมันริ่มแรงขึ้น ผมกับเจ้าหน้าที่ หัวหน้าจึงได้ออกมาออกมาจากสำนักงาน ทันไดนั้นแผ่นดินไหวก็เริ่มแรงขึ้น จนทำให้ตึกที่ทำงานโยกไปโยกมา ม่านกันแดดแกว่งไกวซึ่งตึกที่ผมทำงานนั้นเป็นตึกที่สร้างอย่างแข็งแรง ยังไหวอย่าง่ายดาย
ผมได้ไปที่ต้นไม้ใหญ่เห็นผู้หญิงญีปุ่นได้นั่งลงเกาะต้นไม้แต่ไม่สามารถทน ความแรงของแผ่นไหวได้ เลยมาขอจับแขนผมไว้ ด้านหลังผมก็เป็นสถานีรถไฟ JR ซึ่งเป็นรถไฟสายวิ่งรอบเมืองที่สำคัญของโตเกียว ได้สั่นเหมือนจะพังลงมา รถไฟได้จอดไม่ขยับ ผู้โดยสารได้ติดอยู่บนรถไฟไม่สามารถออกมาได้จนกว่าจะสำรวจว่าปลอดภัยแล้ว ผมจึงได้รีบไปเก็บของที่สำนักงาน แต่ปรากฎว่าได้เกิด After Shock เกิดขึ้นหลายครั้ง ผมจึงได้นำเจ้าหน้าที่ทั้งหมดเดินไปที่สวนสาธารณะฮิบิย่า เพราะที่นั่นเป็นสวนสาธารณะใหญ่ที่กว้าง ปลอดภัยจากตึกหรือกระจกที่จะแตกลงมา (รูปด้านบน) ในขณะที่เดินไปได้สังเกตุว่าถนนมีรอยแตกอยู่มากมาย ซึ่งยิ่งทำให้ตกใจมากขึ้น ร้านค้าแถวที่ทำงานได้มีคนญี่ปุ่นแห่เข้าไปซื้อน้ำของกันจนหมดเกลี้ยง ร้านแม็คก็ไม่มีขายแฮมเบอร์เกอร์ (ขายเฉพาะน้ำ) โทรศัพท์ได้ถูกตัดขาดไม่สามารถติดต่อใครได้ ผมได้นึกถึงหนังเรื่อง 2010 และ Nihon Shinbotsu (ญี่ปุ่นจมหาย) ไม่นึกว่าผมจะได้มีประสบการณ์แบบนี้
ผู้คนไม่สามารถใช้รถได้ จึงเปลี่ยนเดินทางโดยเท้ากลับบ้าน บางคนซื้อจักรยาน เพื่อขี่กลับบ้าน รถบัสและรถส่วนตัวเป็นทางเลือกสุดท้าย แต่ช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เส้นทางต่างๆได้ถูกปิดกั้น ทางขาด น้ำท่วม จึงทำให้รถติดมาก ผมจึงได้รับอาสาส่งพนักงานไปที่บ้าน จนถึงตอนกลุ่มสุดท้าย แต่เนื่องจากรถไฟยังไม่เปิดให้บริการ เพื่อนๆกลุ่มที่เหลือจึงไปพักบ้านหัวหน้า กว่าจะถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืน คนญี่ปุ่นบางคนกลับบ้านไม่ได้ต้องหาที่นอนตามที่ต่างๆ ที่เขตโตเกียวจัดให้ โรงแรมแถบนั้นได้ถูกจองเต็มเรียบร้อยแล้ว มือถือก็ยังไม่สามารถติดต่อได้ พยายมกดไปแจ้งที่บ้านได้ก็ประมาณตี 1ครับ (บ้านหัวหน้าห่างจากที่ทำงาน 4 กิโล ใช้เวลาขับรถ 1.30 ชั่วโมง) ผมได้มองไปข้างนอก เห็นรถติดกันเป้นแถวยาวแม้จะเป้นตี 1 ก็เหมือนกับช่วงเลิกงาน แผ่นดินไหวจะคงสั่นไปเรื่อยๆ ยิ่งตอนตี 4 รับรู้ได้มากในโตเกียว แต่ที่ผมสงสารมากก็คือ เมืองเซ็นได จังหวัดมิยากิ ถึงแม้รัฐบาลจะทำการแจ้งซึนามิล่วงหน้าก็จริง แต่คลื่นที่สูงที่ 10 เมตร ได้ทำลายกวาดบ้านเรือนแถวนั้น และได้พบศพลอยเกลื่อนกลาด 200 - 300 คน เกือบทั้งหมู่บ้าน บ้านเรือนกว่า 4,500,000 หลัง ไม่มีไฟใช้ ซึ่งตอนเหนือยังคนมีหิมะตกหนักอยู่ ตอนนี้ (15.10 น. เวลาญี่ปุ่น วันที่ 12 มี.ค. 54) ได้พบศพไปกว่า 600 รายแล้ว ซึ่งคิดว่าจะเป็นพันในไม่ช้า (ยังไม่รวมกับผู้บาดเจ็บ)
ถึงแม้เข้าตอนเช้าแล้วก็ยังมีแผ่นดินไหวเป็น ระยะระยะ รถไฟบนดินกว่าจะให้บริการได้ก็ช่วงเที่ยง จากการฟังวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่น พบว่าต่อไปภายใน 1 เดือนนี้จะมีแผ่นดินไหว มากกว่า7 ริกเตอร์อีกครั้ง และอาจจะมีเป็นระลอกเล็กๆ เพื่อนที่จะเดินทางญี่ปุ่นในช่วงเดือนเม.ย. ขอให้ระมัดระวังตัว อย่าตื่นตกใจ (แม้แต่ผมพิมพ์ตอนนี้แถวบ้านก็ยังแผ่นดินไหวอยู่) และผมหวังว่าเมืองไทยจะไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงแบบนี้ครับ
ขอให้เพื่อนๆทุกคนปลอดภัยนะคะ เป็นห่วงทุกคนมากค่ะ
**********************************
วันศุกร์ที่ 11 มี.ค. 2554 เป็นวันหนึ่งที่ผมจะจดจำไปตลอดชีวิต เพราะเป็นวันที่ญี่ปุ่นประสบหายนะแผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติ ศาสตร์ โดยศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเซ็นได จังหวัดมิยากิ (หนึ่งในเมืองที่นักท่องเที่ยวไทยชอบไปเที่ยว) อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ซึ่งวัดความสั่นสะเทือนได้ถึง 8.9 ริกเตอร์ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่คนญี่ปุ่นยังไม่เคยพบเจอมาก่อน
เหตุการณ์ ได้เกิดขึ้นเมื่อเวลาบ่าย 2.48 นาที ผมกำลังนั่งทำงานอยู่ จู่ๆเหมือนกับรู้สึกว่าที่ทำงานได้เคลื่อนไหว ผมได้จ้องมองนาฬิกา พบว่านาฬิกาได้แกว่งไปแกว่งมา โดยปกติแล้วเมื่ออยู่นานๆที่นี่จะเริ่มชินกับแผ่นดินไหวจะไม่ลุกไปไหน จนกระทั่งมันริ่มแรงขึ้น ผมกับเจ้าหน้าที่ หัวหน้าจึงได้ออกมาออกมาจากสำนักงาน ทันไดนั้นแผ่นดินไหวก็เริ่มแรงขึ้น จนทำให้ตึกที่ทำงานโยกไปโยกมา ม่านกันแดดแกว่งไกวซึ่งตึกที่ผมทำงานนั้นเป็นตึกที่สร้างอย่างแข็งแรง ยังไหวอย่าง่ายดาย
ผมได้ไปที่ต้นไม้ใหญ่เห็นผู้หญิงญีปุ่นได้นั่งลงเกาะต้นไม้แต่ไม่สามารถทน ความแรงของแผ่นไหวได้ เลยมาขอจับแขนผมไว้ ด้านหลังผมก็เป็นสถานีรถไฟ JR ซึ่งเป็นรถไฟสายวิ่งรอบเมืองที่สำคัญของโตเกียว ได้สั่นเหมือนจะพังลงมา รถไฟได้จอดไม่ขยับ ผู้โดยสารได้ติดอยู่บนรถไฟไม่สามารถออกมาได้จนกว่าจะสำรวจว่าปลอดภัยแล้ว ผมจึงได้รีบไปเก็บของที่สำนักงาน แต่ปรากฎว่าได้เกิด After Shock เกิดขึ้นหลายครั้ง ผมจึงได้นำเจ้าหน้าที่ทั้งหมดเดินไปที่สวนสาธารณะฮิบิย่า เพราะที่นั่นเป็นสวนสาธารณะใหญ่ที่กว้าง ปลอดภัยจากตึกหรือกระจกที่จะแตกลงมา (รูปด้านบน) ในขณะที่เดินไปได้สังเกตุว่าถนนมีรอยแตกอยู่มากมาย ซึ่งยิ่งทำให้ตกใจมากขึ้น ร้านค้าแถวที่ทำงานได้มีคนญี่ปุ่นแห่เข้าไปซื้อน้ำของกันจนหมดเกลี้ยง ร้านแม็คก็ไม่มีขายแฮมเบอร์เกอร์ (ขายเฉพาะน้ำ) โทรศัพท์ได้ถูกตัดขาดไม่สามารถติดต่อใครได้ ผมได้นึกถึงหนังเรื่อง 2010 และ Nihon Shinbotsu (ญี่ปุ่นจมหาย) ไม่นึกว่าผมจะได้มีประสบการณ์แบบนี้
ผู้คนไม่สามารถใช้รถได้ จึงเปลี่ยนเดินทางโดยเท้ากลับบ้าน บางคนซื้อจักรยาน เพื่อขี่กลับบ้าน รถบัสและรถส่วนตัวเป็นทางเลือกสุดท้าย แต่ช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เส้นทางต่างๆได้ถูกปิดกั้น ทางขาด น้ำท่วม จึงทำให้รถติดมาก ผมจึงได้รับอาสาส่งพนักงานไปที่บ้าน จนถึงตอนกลุ่มสุดท้าย แต่เนื่องจากรถไฟยังไม่เปิดให้บริการ เพื่อนๆกลุ่มที่เหลือจึงไปพักบ้านหัวหน้า กว่าจะถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืน คนญี่ปุ่นบางคนกลับบ้านไม่ได้ต้องหาที่นอนตามที่ต่างๆ ที่เขตโตเกียวจัดให้ โรงแรมแถบนั้นได้ถูกจองเต็มเรียบร้อยแล้ว มือถือก็ยังไม่สามารถติดต่อได้ พยายมกดไปแจ้งที่บ้านได้ก็ประมาณตี 1ครับ (บ้านหัวหน้าห่างจากที่ทำงาน 4 กิโล ใช้เวลาขับรถ 1.30 ชั่วโมง) ผมได้มองไปข้างนอก เห็นรถติดกันเป้นแถวยาวแม้จะเป้นตี 1 ก็เหมือนกับช่วงเลิกงาน แผ่นดินไหวจะคงสั่นไปเรื่อยๆ ยิ่งตอนตี 4 รับรู้ได้มากในโตเกียว แต่ที่ผมสงสารมากก็คือ เมืองเซ็นได จังหวัดมิยากิ ถึงแม้รัฐบาลจะทำการแจ้งซึนามิล่วงหน้าก็จริง แต่คลื่นที่สูงที่ 10 เมตร ได้ทำลายกวาดบ้านเรือนแถวนั้น และได้พบศพลอยเกลื่อนกลาด 200 - 300 คน เกือบทั้งหมู่บ้าน บ้านเรือนกว่า 4,500,000 หลัง ไม่มีไฟใช้ ซึ่งตอนเหนือยังคนมีหิมะตกหนักอยู่ ตอนนี้ (15.10 น. เวลาญี่ปุ่น วันที่ 12 มี.ค. 54) ได้พบศพไปกว่า 600 รายแล้ว ซึ่งคิดว่าจะเป็นพันในไม่ช้า (ยังไม่รวมกับผู้บาดเจ็บ)
ถึงแม้เข้าตอนเช้าแล้วก็ยังมีแผ่นดินไหวเป็น ระยะระยะ รถไฟบนดินกว่าจะให้บริการได้ก็ช่วงเที่ยง จากการฟังวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่น พบว่าต่อไปภายใน 1 เดือนนี้จะมีแผ่นดินไหว มากกว่า7 ริกเตอร์อีกครั้ง และอาจจะมีเป็นระลอกเล็กๆ เพื่อนที่จะเดินทางญี่ปุ่นในช่วงเดือนเม.ย. ขอให้ระมัดระวังตัว อย่าตื่นตกใจ (แม้แต่ผมพิมพ์ตอนนี้แถวบ้านก็ยังแผ่นดินไหวอยู่) และผมหวังว่าเมืองไทยจะไม่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงแบบนี้ครับ
Wednesday, March 02, 2011
บรรยากาศพาไป
(กะว่าจะเขียนเรื่องนี้มาตั้งแต่วันแรกที่ประเทศไทยมีลมหนาวพัดผ่านเข้ามา จนตอนนี้จะเข้าหน้าร้อนอยู่แล้วถึงได้มาเขียน...="=)
เคยรู้สึกไหมคะว่าทำไมหน้าหนาว เราถึงรู้สึกเหงาเป็นพิเศษ?
เคยสังเกต status facebook ของเพื่อนๆกันไหมคะว่าพอวันไหนหนาว...เป็นโรคขี้เหงากันทุกคน
เคยรู้สึกไหมว่าทำไมพอหน้าหนาวทีไรพอเพลง "ลมหนาวมาเมื่อไร ใจฉันคงยิ่งเหงา คืนวันที่มันเหน็บหนาวไม่รู้จะทนได้นานเท่าไร" มันรู้สึกเจ็บจี๊ดๆไปถึงหัวใจ (เพลงนี้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่สิบปี พอหน้าหนาวที่แสนสั้นพัดเข้ามาที่ประเทศไทยทีไร จะต้องแข่งกันเปิดให้มันทุกคลื่น)
แต่โบว์กลับรู้สึกว่า...ฤดูอื่นไม่เหงากันเหรอคะ???
สังเกตมาหลายประเทศละ (อย่างน้อยก็สองประเทศละกัน) ทำไมเวลาหน้าหนาว เพลงเหงาเศร้าสร้อยมันออกมากันเยอะจังเลย (เช่น..เป็นโสดหน้าหนาววว ทำไมมันหนาวเป็นสองเป็นสามเท่าของคนอื่น ถ้าเป็นญี่ปุ่นก็จะออกแนวว่าเพราะฉันมีเธออยู่ฉันเลยไม่หนาวแล้วในหน้าหนาวแบบนี้ กระชากอารมณ์คนโสดยิ่งนัก) เพลงแบบชวนไปกันสนุกสนานเฮฮาหน้าหนาว เล่นสกีปาหิมะอะไรแบบนี้ทำไมไม่ค่อยมีเท่าไหร่เลยคะ (สังเกตเพลงสนุกสนานจะออกมาประมาณหน้าร้อน แบบสนุกสนานเฮฮาเราไปทะเลกันนนน)
อยากจะรู้เหลือเกินว่าใครหนอเป็นคนกำหนดวาทกรรมว่าหน้าหนาว มันจะต้องเหงา หรือพอหนาวไม่มีคนเดินด้วยแล้วมันหนาวเป็นพิเศษ?? หรือว่าเพราะคำว่า "หนาว" มันพ้องกับคำว่า "เหงา" เวลาแต่งเพลงมันเลยคล้องจองกันดี??
เวลาหน้าฝน ฝนตกทีไรต้องมีคนบอกว่าบรรยากาศมันพาไปให้เศร้า ถ้าฝนตกเมื่อใดทุกคนเศร้าก็น่าสงสารสายฝนเหลือเกินที่มักถูกทำให้เป็นสัญลักษณ์แทนอุปสรรคต่างๆ (อดทนเวลาที่ฝนพรำ..อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่างงง) ทั้งๆที่เมื่อใดที่ฝนตกสายน้ำก็มักจะนำความเย็น ละอองฝนที่กระเซ็นมากสร้างความชุ่มฉ่ำให้เรา (ถ้าน้ำไม่ท่วมเสียก่อนนะ..อันนั้นยกเว้น)
สำหรับโบว์ (ซึ่งเป็นคนขี้เหงา) จะฤดูไหนเวลาใด อากาศจะร้อนจะหนาวฝนจะตก ยังไง๊ยังไงก็เหงา
ถามจริงๆว่าจริงๆแล้วทุกคนเหงากันเฉพาะหน้าหนาวหรือเปล่าคะ?
เชื่อว่าทุกคนคงไม่ได้เหงากันแค่หน้าหนาวหรอกค่ะ แต่บางทีคงอดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่าบรรยากาศมันช่างพาไปเหลือเกิน จริงๆแล้วอากาศก็เย็นสบายดี ใครหนอมาช่างเปรียบลมหนาวที่เย็นสบายกับความเหงา เปิดเพลงเศร้าเคล้าไปด้วย หลายๆครั้งมันคงอดไม่ได้ที่จะแอบอินไปด้วยใช่ไหมล่ะคะ
ใครที่เหงาอยู่ถ้าเกิดบรรยากาศมันเกิดพาไปขึ้นมา ก็ลองหาบรรยากาศใหม่ๆ เปลี่ยนบรรยากาศบ้าง ความเหงาก็คงจะผ่อนคลายไปได้บ้าง อย่าให้บรยากาศเดิมๆมากำหนดความรู้สึกของเรากันเลยค่ะ ยังมีอะไรอื่นๆอีกตั้งมากมายที่ช่วยสร้างบรรยากาศดีๆให้เรานะคะ :)
เคยรู้สึกไหมคะว่าทำไมหน้าหนาว เราถึงรู้สึกเหงาเป็นพิเศษ?
เคยสังเกต status facebook ของเพื่อนๆกันไหมคะว่าพอวันไหนหนาว...เป็นโรคขี้เหงากันทุกคน
เคยรู้สึกไหมว่าทำไมพอหน้าหนาวทีไรพอเพลง "ลมหนาวมาเมื่อไร ใจฉันคงยิ่งเหงา คืนวันที่มันเหน็บหนาวไม่รู้จะทนได้นานเท่าไร" มันรู้สึกเจ็บจี๊ดๆไปถึงหัวใจ (เพลงนี้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่สิบปี พอหน้าหนาวที่แสนสั้นพัดเข้ามาที่ประเทศไทยทีไร จะต้องแข่งกันเปิดให้มันทุกคลื่น)
แต่โบว์กลับรู้สึกว่า...ฤดูอื่นไม่เหงากันเหรอคะ???
สังเกตมาหลายประเทศละ (อย่างน้อยก็สองประเทศละกัน) ทำไมเวลาหน้าหนาว เพลงเหงาเศร้าสร้อยมันออกมากันเยอะจังเลย (เช่น..เป็นโสดหน้าหนาววว ทำไมมันหนาวเป็นสองเป็นสามเท่าของคนอื่น ถ้าเป็นญี่ปุ่นก็จะออกแนวว่าเพราะฉันมีเธออยู่ฉันเลยไม่หนาวแล้วในหน้าหนาวแบบนี้ กระชากอารมณ์คนโสดยิ่งนัก) เพลงแบบชวนไปกันสนุกสนานเฮฮาหน้าหนาว เล่นสกีปาหิมะอะไรแบบนี้ทำไมไม่ค่อยมีเท่าไหร่เลยคะ (สังเกตเพลงสนุกสนานจะออกมาประมาณหน้าร้อน แบบสนุกสนานเฮฮาเราไปทะเลกันนนน)
อยากจะรู้เหลือเกินว่าใครหนอเป็นคนกำหนดวาทกรรมว่าหน้าหนาว มันจะต้องเหงา หรือพอหนาวไม่มีคนเดินด้วยแล้วมันหนาวเป็นพิเศษ?? หรือว่าเพราะคำว่า "หนาว" มันพ้องกับคำว่า "เหงา" เวลาแต่งเพลงมันเลยคล้องจองกันดี??
เวลาหน้าฝน ฝนตกทีไรต้องมีคนบอกว่าบรรยากาศมันพาไปให้เศร้า ถ้าฝนตกเมื่อใดทุกคนเศร้าก็น่าสงสารสายฝนเหลือเกินที่มักถูกทำให้เป็นสัญลักษณ์แทนอุปสรรคต่างๆ (อดทนเวลาที่ฝนพรำ..อย่างน้อยก็ทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่างงง) ทั้งๆที่เมื่อใดที่ฝนตกสายน้ำก็มักจะนำความเย็น ละอองฝนที่กระเซ็นมากสร้างความชุ่มฉ่ำให้เรา (ถ้าน้ำไม่ท่วมเสียก่อนนะ..อันนั้นยกเว้น)
สำหรับโบว์ (ซึ่งเป็นคนขี้เหงา) จะฤดูไหนเวลาใด อากาศจะร้อนจะหนาวฝนจะตก ยังไง๊ยังไงก็เหงา
ถามจริงๆว่าจริงๆแล้วทุกคนเหงากันเฉพาะหน้าหนาวหรือเปล่าคะ?
เชื่อว่าทุกคนคงไม่ได้เหงากันแค่หน้าหนาวหรอกค่ะ แต่บางทีคงอดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่าบรรยากาศมันช่างพาไปเหลือเกิน จริงๆแล้วอากาศก็เย็นสบายดี ใครหนอมาช่างเปรียบลมหนาวที่เย็นสบายกับความเหงา เปิดเพลงเศร้าเคล้าไปด้วย หลายๆครั้งมันคงอดไม่ได้ที่จะแอบอินไปด้วยใช่ไหมล่ะคะ
ใครที่เหงาอยู่ถ้าเกิดบรรยากาศมันเกิดพาไปขึ้นมา ก็ลองหาบรรยากาศใหม่ๆ เปลี่ยนบรรยากาศบ้าง ความเหงาก็คงจะผ่อนคลายไปได้บ้าง อย่าให้บรยากาศเดิมๆมากำหนดความรู้สึกของเรากันเลยค่ะ ยังมีอะไรอื่นๆอีกตั้งมากมายที่ช่วยสร้างบรรยากาศดีๆให้เรานะคะ :)
Monday, January 24, 2011
จดหมายจากโอซาก้า
เดือนมกราคมซึ่งยังคงมีกลิ่นอายของการส่งมอบความสุขที่อบอวลอยู่ตลอดเดือน
ทำให้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีการ์ดใบหนึ่งได้ถูกส่งมาวางไว้ที่หน้าประตูบ้านของโบว์
การ์ดใบนี้จะไม่พิเศษอะไรถ้าไม่ใช่้การ์ดจากเพื่อนคนหนึ่ง...ซึ่งรู้จักกันมากว่า 15 ปีแล้ว
ซึ่งเพื่อนคนนี้อาจจะไม่พิเศษสักเท่าไหร่ ถ้ามันไม่ใช่มิตรภาพที่เริ่มต้นจากจดหมายเพียงฉบับเดียวเท่านั้นเอง
ไม่แน่ใจว่าคนในรุ่นๆเดียวกันกับโบว์เคยอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ Student Weekly กันหรือเปล่าคะ?
ถ้าเคยอ่านกันอาจคงอาจจะจำได้ว่า มีคอลัมน์หนึ่งที่เป็น highlight ของ นสพ.เล่มนี้เลยคือ "Penfriend Around the World"
โบว์เริ่มอ่านหนังสือพิมพ์ Student Weekly ถ้าจำไม่ผิดตั้งแต่สมัย ป.5 และไม่รู้มีอะไรดลจิตดลใจทำให้สนใจคอลัมน์นั้นเป็นพิเศษ
"มีเพื่อนต่างชาติก็คงดีเหมือนกัน..." คิดได้อย่างนั้นจึงเริ่มเขียนจดหมายแนะนำตัวภาษาอังกฤษ ส่งไปตามที่อยู่ที่มีลงไว้ในคอมลัมน์
จำได้ว่าเขียนไปหาแทบทุกคน ได้ตอบกลับมาบ้าง ไม่ได้ตอบกลับมาบ้าง บางคนเขียนกลับมาฉบับสองฉบับก็หายเงียบไปเลย
แล้ววันหนึ่งจำได้ว่าเป็นตอน ม.1 มีจดหมายฉบับหนึ่งส่งมาถึงบ้าน เป็นจดหมายจากประเทศญี่ปุ่น...
ดูปีดีๆว่าฉบับนี้มีตราประทับของปี 1996
ตอนนั้นเธออายุ 13 ปีเท่านั้นเอง (ในขณะที่โบว์อายุ 12) จนตอนนี้เธอมีลูกสองคนแล้ว! (สังเกตได้จากการ์ดปีใหม่ที่เธอส่งมาให้ เด็กสองคนนั้นคือลูกสาวเธอเอง)
ช่วงแรกๆภาษาอังกฤษอาจจะ broken บ้าง เข้าใจกันบ้างไม่เข้าใจกันบ้างตามประสาคนไม่ใช่เจ้าของภาษา
แต่เราก็ส่งจดหมายหากันปีละหลายฉบับ เราติดต่อกันผ่านทางจดหมายกันมาเรื่อยๆ โดยไม่เคยเห็นหน้าค่าตากัน
คุยกันเรื่องนานาจิปาถะ ลองเปิดกลับไปอ่านดูก็ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆในชีวิตวัยเด็กของเรามากมาย
โดยเราไม่ได้คิดกันเลยว่ามิตรภาพทางจดหมายนี้มันจะยืนยาวแค่ไหน
เวลาผ่านไปนานถึง 15 ปีแล้ว ถึงแม้แต่ละคนต่างมีภาระและหน้าที่ของตัวเอง
ทำให้มีเวลาเขียนจดหมายหากันน้อยลง แต่ภาระหน้าที่ที่อย่างน้อยต้องทำปีละครั้งคือการส่งการ์ดปีใหม่ให้กันนั่นเอง
ทำให้ตอนนี้มีจดหมายที่ส่งนั่นโน่นนี่ให้กันเต็มจะล้นกล่องออกมาเลยทีเดียว
**********************
เมื่อไม่กี่วันก่อนเช่นกัน ได้อ่านบทความหนึ่งใน Yahoo! News เรื่อง Things Babies Born in 2011 Will Never Known
หลายสิ่งที่อ่านแล้วอดพยักหน้าหงึกๆตามไปด้วยไม่ได้ อย่างหนึ่งก็คือ...
Hand-written letters: For that matter, hand-written anything. When was the last time you wrote cursive? In fact, do you even know what the word "cursive" means? Kids born in 2011 won't -- but they'll put you to shame on a tiny keyboard.
ในฐานะที่เป็นหนึ่งคนในประเทศไทยที่เชื่อมั่นว่าใช่้ facebook มายืนยาวนานกว่าหลายๆคน (ตั้งแต่ปี 2006) และมีเพื่อนใน contact list กว่า 1,000 คน ก็ทำให้รู้สึกเหมือนกันว่า คนอาจจะติดต่อกันผ่านทางจดหมายน้อยลง ตัวโบว์เองก็เช่นเดียวกัน..
เคยได้ยินเรื่องความรักสมัยก่อน ที่หลายๆคนข้ามผ่าน long distance relationship ได้เพราะว่าเขียนจดหมายหากันสม่ำเสมอ พิสูจน์ความรักระยะไกลกันไป ปัจจุบันนอกจากเขียนจดหมายหากันจะไม่เวิร์คเพราะใช้เวลานานแล้ว การติดต่อกันง่ายเกินไปแต่ไม่ทำก็อาจจะทำให้ความสัมพันธ์จบลงอย่างง่ายดายกว่าและเจ็บปวดกว่าเสียด้วยซ้ำ...
ความจริงแล้วการที่เทคโนโลยีทำให้เราใกล้กัน เราติดต่อกันง่ายขึ้น กลับทำให้เราห่างกันมากขึ้นกว่าเดิมอีกหรือเปล่านะ
มิตรภาพทางไกลผ่านทางตัวหนังสือของโบว์ตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ทำไมมันถึงกลับรู้สึกใกล้กันเพียงแค่มีตู้ไปรษณีย์กั้นเท่านั้นเอง
********************************
โบว์เองยังคงใช้บริการไปรษณีย์อยู่อย่างสม่ำเสมอ อาจจะไม่บ่อยและเยอะเหมือนเมื่อก่อน แต่รับรองว่าไปรษณีย์ยังต้องมีลูกค้าที่มั่นคงและเหนียวแน่นคนนี้อยู่ไปนานแสนนานแน่นอน การส่งไปรษณีย์หากันอาจจะดูเชย แต่ไม่รู้สิ โบว์กลับชอบความเชยแบบนี้นะ เพราะถึงแม้มันจะเชยแต่สิ่งที่เราส่งไปหา หรือส่งให้กันมันก็ยังคงอยู่ในความทรงจำไปได้เนิ่นนาน ทุกๆครั้งที่เราหยิบจดหมายขึ้นมาอ่าน เราจะยังรู้สึกได้ถึงความอบอวลของความห่วงใยและใส่ใจจากเจ้าของลายมือที่ส่งมาให้เราอยู่เสมอ :)
ทำให้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีการ์ดใบหนึ่งได้ถูกส่งมาวางไว้ที่หน้าประตูบ้านของโบว์
การ์ดใบนี้จะไม่พิเศษอะไรถ้าไม่ใช่้การ์ดจากเพื่อนคนหนึ่ง...ซึ่งรู้จักกันมากว่า 15 ปีแล้ว
ซึ่งเพื่อนคนนี้อาจจะไม่พิเศษสักเท่าไหร่ ถ้ามันไม่ใช่มิตรภาพที่เริ่มต้นจากจดหมายเพียงฉบับเดียวเท่านั้นเอง
ไม่แน่ใจว่าคนในรุ่นๆเดียวกันกับโบว์เคยอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อ Student Weekly กันหรือเปล่าคะ?
ถ้าเคยอ่านกันอาจคงอาจจะจำได้ว่า มีคอลัมน์หนึ่งที่เป็น highlight ของ นสพ.เล่มนี้เลยคือ "Penfriend Around the World"
โบว์เริ่มอ่านหนังสือพิมพ์ Student Weekly ถ้าจำไม่ผิดตั้งแต่สมัย ป.5 และไม่รู้มีอะไรดลจิตดลใจทำให้สนใจคอลัมน์นั้นเป็นพิเศษ
"มีเพื่อนต่างชาติก็คงดีเหมือนกัน..." คิดได้อย่างนั้นจึงเริ่มเขียนจดหมายแนะนำตัวภาษาอังกฤษ ส่งไปตามที่อยู่ที่มีลงไว้ในคอมลัมน์
จำได้ว่าเขียนไปหาแทบทุกคน ได้ตอบกลับมาบ้าง ไม่ได้ตอบกลับมาบ้าง บางคนเขียนกลับมาฉบับสองฉบับก็หายเงียบไปเลย
แล้ววันหนึ่งจำได้ว่าเป็นตอน ม.1 มีจดหมายฉบับหนึ่งส่งมาถึงบ้าน เป็นจดหมายจากประเทศญี่ปุ่น...
ดูปีดีๆว่าฉบับนี้มีตราประทับของปี 1996
ตอนนั้นเธออายุ 13 ปีเท่านั้นเอง (ในขณะที่โบว์อายุ 12) จนตอนนี้เธอมีลูกสองคนแล้ว! (สังเกตได้จากการ์ดปีใหม่ที่เธอส่งมาให้ เด็กสองคนนั้นคือลูกสาวเธอเอง)
ช่วงแรกๆภาษาอังกฤษอาจจะ broken บ้าง เข้าใจกันบ้างไม่เข้าใจกันบ้างตามประสาคนไม่ใช่เจ้าของภาษา
แต่เราก็ส่งจดหมายหากันปีละหลายฉบับ เราติดต่อกันผ่านทางจดหมายกันมาเรื่อยๆ โดยไม่เคยเห็นหน้าค่าตากัน
คุยกันเรื่องนานาจิปาถะ ลองเปิดกลับไปอ่านดูก็ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆในชีวิตวัยเด็กของเรามากมาย
โดยเราไม่ได้คิดกันเลยว่ามิตรภาพทางจดหมายนี้มันจะยืนยาวแค่ไหน
เวลาผ่านไปนานถึง 15 ปีแล้ว ถึงแม้แต่ละคนต่างมีภาระและหน้าที่ของตัวเอง
ทำให้มีเวลาเขียนจดหมายหากันน้อยลง แต่ภาระหน้าที่ที่อย่างน้อยต้องทำปีละครั้งคือการส่งการ์ดปีใหม่ให้กันนั่นเอง
ทำให้ตอนนี้มีจดหมายที่ส่งนั่นโน่นนี่ให้กันเต็มจะล้นกล่องออกมาเลยทีเดียว
**********************
เมื่อไม่กี่วันก่อนเช่นกัน ได้อ่านบทความหนึ่งใน Yahoo! News เรื่อง Things Babies Born in 2011 Will Never Known
หลายสิ่งที่อ่านแล้วอดพยักหน้าหงึกๆตามไปด้วยไม่ได้ อย่างหนึ่งก็คือ...
Hand-written letters: For that matter, hand-written anything. When was the last time you wrote cursive? In fact, do you even know what the word "cursive" means? Kids born in 2011 won't -- but they'll put you to shame on a tiny keyboard.
ในฐานะที่เป็นหนึ่งคนในประเทศไทยที่เชื่อมั่นว่าใช่้ facebook มายืนยาวนานกว่าหลายๆคน (ตั้งแต่ปี 2006) และมีเพื่อนใน contact list กว่า 1,000 คน ก็ทำให้รู้สึกเหมือนกันว่า คนอาจจะติดต่อกันผ่านทางจดหมายน้อยลง ตัวโบว์เองก็เช่นเดียวกัน..
เคยได้ยินเรื่องความรักสมัยก่อน ที่หลายๆคนข้ามผ่าน long distance relationship ได้เพราะว่าเขียนจดหมายหากันสม่ำเสมอ พิสูจน์ความรักระยะไกลกันไป ปัจจุบันนอกจากเขียนจดหมายหากันจะไม่เวิร์คเพราะใช้เวลานานแล้ว การติดต่อกันง่ายเกินไปแต่ไม่ทำก็อาจจะทำให้ความสัมพันธ์จบลงอย่างง่ายดายกว่าและเจ็บปวดกว่าเสียด้วยซ้ำ...
ความจริงแล้วการที่เทคโนโลยีทำให้เราใกล้กัน เราติดต่อกันง่ายขึ้น กลับทำให้เราห่างกันมากขึ้นกว่าเดิมอีกหรือเปล่านะ
มิตรภาพทางไกลผ่านทางตัวหนังสือของโบว์ตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ทำไมมันถึงกลับรู้สึกใกล้กันเพียงแค่มีตู้ไปรษณีย์กั้นเท่านั้นเอง
********************************
โบว์เองยังคงใช้บริการไปรษณีย์อยู่อย่างสม่ำเสมอ อาจจะไม่บ่อยและเยอะเหมือนเมื่อก่อน แต่รับรองว่าไปรษณีย์ยังต้องมีลูกค้าที่มั่นคงและเหนียวแน่นคนนี้อยู่ไปนานแสนนานแน่นอน การส่งไปรษณีย์หากันอาจจะดูเชย แต่ไม่รู้สิ โบว์กลับชอบความเชยแบบนี้นะ เพราะถึงแม้มันจะเชยแต่สิ่งที่เราส่งไปหา หรือส่งให้กันมันก็ยังคงอยู่ในความทรงจำไปได้เนิ่นนาน ทุกๆครั้งที่เราหยิบจดหมายขึ้นมาอ่าน เราจะยังรู้สึกได้ถึงความอบอวลของความห่วงใยและใส่ใจจากเจ้าของลายมือที่ส่งมาให้เราอยู่เสมอ :)
Subscribe to:
Posts (Atom)